เมนู

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 2 ดังต่อไปนี้
บทว่า อาวรณานิ เครื่องกั้นจิต คือนิวรณ์นั่นเอง. นิวรณ์
เหล่านั้นท่านกล่าวไว้แล้วในอุรตสูตรโดยอรรถ. แต่เพราะนิวรณ์เหล่านั้น
กั้นจิต ดุจหมอกเป็นต้นบังดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ฉะนั้น ฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่าเป็นเครื่องกั้นจิต. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละนิวรณ์เหล่านั้นได้
ด้วยอุปจาระหรือด้วยอัปปนา. บทว่า อุปกฺกิเลเส กิเลสเครื่องเศร้า-
หมองจิต คืออกุศลธรรมอันเข้าไปเบียดเบียนจิต หรืออภิชฌาเป็นต้น-
ดังได้ตรัสไว้แล้วในวัตโถปมสูตรเป็นต้น
บทว่า พฺยปนุชฺช สลัดเสียแล้ว คือบรรเทา บรรเทาวิเศษ
ละด้วยวิปัสสนาและมรรค. บทว่า สพฺเพ คือ กิเลสไม่มีส่วนเหลือ
ท่านอธิบายว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าเป็นผู้อันตัณหา
และทิฏฐิไม่อาศัย เพราะละทิฏฐินิสัยด้วยปฐมมรรค ตัดโทษคือความ
เยื่อใย คือตัณหาราคะอันไปแล้วในโลกธาตุทั้งสาม ด้วยมรรคที่เหลือ
ด้วยว่าความเยื่อใยเท่านั้น ท่านเรียกว่า เสฺนหโทโส เพราะเป็นปฎิปักษ์
กับคุณธรรม. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ 2

คาถาที่ 3


33) วิปิฏฺฐิกตฺวาน สุขํ ทุกฺขญฺจ
ปุพฺเพว จ โสมนสฺสโทมนสฺสํ
ลทฺธานุเปกฺขํ สมถํ วิสุทธํ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ละสุข ทุกข์ โสมนัสและ
โทมนัสในกาลก่อนแล้ว ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 3 ดังต่อไปนี้.
บทว่า วิปิฏฺฐิกตฺวาน ละแล้ว คือละทิ้งไว้ข้างหลัง. บทว่า สุขญฺจ
ทุกฺขํ
คือ ความยินดียินร้ายทางกาย. บทว่า โสมนสฺสโทมนสฺสํ คือ
ความยินดียินร้ายทางใจ. บทว่า อุเปกฺขํ คือ อุเบกขาในจตุตถฌาน.
บทว่า สมถํ คือ สมถะในจุตตถฌานนั่นเอง. บทว่า วิสุทฺธํ ความว่า
ชื่อว่าหมดจดอย่างยิ่ง เพราะพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก 9 ประการ คือ
นิวรณ์ 5 วิตก วิจาร ปีติ สุข อธิบายว่า ปราศจากอุปกิเลส ดุจทองคำ
ที่หลอมดีแล้วนั่นเอง. ส่วนโยชนาแก้ไว้ดังนี้. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละสุข
และทุกข์ก่อน ๆ แล้ว อธิบายว่า ละทุกข์ในภูมิอัน เป็นอุปจารแห่ง
ปฐมฌาน และสุขในภูมิอันเป็นอุปจารแห่งตติยฌาน. นำ อักษร
ที่กล่าวไว้ข้างต้นไปไว้ข้างหลัง ได้รูปเป็นดังนี้ โสมนสฺสํ โทมนสฺสญฺจ
วิปิฏฐิกตฺวาน ปุพฺเพว
ละโสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ แล้ว. ด้วยบทนั้น
ท่านแสดงว่า โสมนัสในภูมิอัน เป็นอุปจารแห่งจุจจถฌาน โทมนัสในภูมิ
เป็นอุปจารแห่งทุติยฌาน. จริงอยู่ ฌานเหล่านี้เป็นฐานะแห่งการละทุกข
สุขโทมนัสโสมนัสเหล่านั้นโดยปริยาย แต่โดยตรง ปฐมฌานเป็นฐาน
ละทุกข์ ทุติยฌานเป็นฐานละโทมนัส ตติยฌานเป็นฐานละสุข จตุตถฌาน
เป็นฐานละโสมนัส. เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า
ภิกษุเข้าถึงปฐมฌานอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดในปฐมฌานนี้ย่อมดับไปโดย
ไม่มีเหลือ. พึงถือเอาบททั้งหมดนั้นตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังต่อไป.

บทว่า ปุพฺเพว ก่อน ๆ คือละทุกข์โทมนัสและสุขได้ในฌานทั้งสามมี
ปฐมฌานเป็นต้น แล้วละโสมนัสในจตุตถฌานนี้ ได้อุเบกขาและสมถะ
อันหมดด้วยปฏิปทานี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว
นั่งเอง.
จบคาถาที่ 3

คาถาที่ 4


34) อารทฺธวิริโย ปรมตฺถปตฺติยา
อลีนจตฺโต อกุสีตวุตฺตี
ทฬฺหนิกฺกโม ถามพลูปปนฺโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธจ้าปรารภความเพียร เพื่อบรรลุ
ปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความประพฤติไม่
เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่นคง ถึงพร้อมด้วยกำลังกาย
และกำลังญาณ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 4 ดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า อารทฺธวิริโย เพราะมีความเพียรอัน ปรารภแล้ว. ด้วยบทนี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงความเพียรเบื้องต้น เริ่มด้วยวิริยะของตน.
นิพพานท่านกล่าวว่าปรมัตถ์ เพื่อถึงนิพพานนั้น ชื่อว่าเพื่อถึงปรมัตถ์.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงผลที่ควรบรรลุ ด้วยการเริ่มความเพียรนั้น.
ด้วยบทว่า อลีนจิตฺโต มีจิตมิได้ย่อหย่อน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดง